3 ก.ย. 2557

ครั้งที่ 3


คุณลักษณะตามวัยของเด็กอายุ 3-5 ปี 

ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2546

เด็กอายุ 3 ปี
         พัฒนาการด้านร่างกาย  ได้แก่  กระโดดขึ้นลงอยู่กับที่ได้  รับลูกบอลด้วยมือและลำตัว  เดินขึ้นบันไดสลับเท้ากันได้  เขียนเป็นรูปวงกลมตามแบบได้
         พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ  แสดงอารมณ์ตามความรู้สึก  ชอบที่จะทำให้ผู้ใหญ่พอใจและได้คำชม  กลัวการพรัดพรากจากผู้เลี้ยงดูอย่างใกล้ชิดน้อยลง
         พัฒนาการด้านสังคม  รับประทานอาหารได้ด้วยตนเอง  ชอบเล่นแบบคู่ขนาน (เล่นของเล่นชนิดเดียวกันแต่ต่างคนต่างเล่น)  เล่นสมมติได้  รู้จักรอคอย
         พัฒนาการด้านสติปัญญา  สำรวจสิ่งต่างๆ ที่เหมือนกันและต่างกันได้  บอกชื่อของตนเองได้  ขอความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา  สนทนาโต้ตอบ / เล่าเรื่องด้วยประโยคสั้นๆ ได้  สนใจนิทานและเรื่องราวต่างๆ ร้องเพลง  ท่องคำกลอน  คำคล้องจองง่ายๆ และแสดงท่าทางเลียนแบบได้  รู้จักใช้คำถาม "อะไร"  สร้างผลงานตามความคิดของตนเองอย่างง่ายๆ  อยากรู้อยากเห็นทุกอย่างรอบตัว

เด็กอายุ 4 ปี
         พัฒนาการด้านร่างกาย  กระโดดขาเดียวอยู่กับที่ได้  รับลูกบอลได้ด้วยมือทั้งสอง  เดินขึ้น  ลงบันไดสลับเท้าได้  เขียนรูปสี่เหล่ียมตามแบบได้  ตัดกระดาษเป็นเส้นตรงได้  กระฉับกระเฉงไม่ชอบอยู่เฉย
         พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ  แสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมกับบางสถานการณ์  เริ่่มรู้จักชื่นชมความสามารถ  และผลงานของตนเองและผู้อื่น  ชอบท้าทายผู้ใหญ่  ต้องการให้มีคนฟัง  คนสนใจ
         พัฒนาการด้านสังคม  แต่งตัวได้ด้วยตนเอง  ไปห้องส้วมได้เอง  เล่นร่วมกับคนอื่นได้  รอคอยตามลำดับก่อน - หลัง  แบ่งของให้คนอื่น  เก็บของเล่นเข้าที่ได้
         พัฒนาการด้านสติปัญญา  จำแนกสิ่งต่างๆ ด้วยประสานสัมผัสทั้ง 4 ได้  พยายามแก้ปัญหาด้วยตนเองหลังจากได้รับคำชี้แนะ  สนทนาโต้ตอบ / เล่าเรื่องเป็นประโยคอย่างต่อเนื่อง  สร้างผลงานตามความคิดของตนเอง  โดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้น  รู้จักการใช้คำถาม "ทำไม"

เด็กอายุ 5 ปี
         พัฒนาการด้านร่างกาย  กระโดดขาเดียวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องได้  รับลูกบอลที่กระดอนขึ้นจากพื้นได้ด้วยมือทั้งสอง  เดินขึ้น ลงบันไดสลับเท้าได้อย่างคล่องแคล่ว  เขียนรูปสามเหลี่ยมตามแบบได้  ตัดกระดาษตามแนวเส้นโค้งที่กำหนด  ใช้กล้ามเนื้อเล็กได้ดี  เช่น  ติดกระดุม  ผูกเชือกรองเท้า ฯลฯ  ยืดตัว  คล่องแคล่ว
         พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ  แสดงอารมณ์ได้สอดคล้องกับสถานการณ์อย่างเหมาะสม  ชื่นชมความสามารถและผลงานของตนเองและผู้้อื่น  ยึดตนเองเป็นศูนย์กลางน้อยลง
         พัฒนาการด้านสังคม  ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง  เล่นหรือทำงานโดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกับผู้อื่นได้  พบผู้ใหญ่  รู้จักไหว้  ทำความเคารพ  รู้จักขอบคุณ  เมื่อรับของจากผู้ใหญ่  รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย
         พัฒนาการด้านสติปัญญา  บอกความแตกต่างของกลิ่น  สี  เสียง  รส  รูปร่าง  จำแนก  และ  จัดหมวดหมู่สิ่งของได้  บอกชื่อ  นามสกุล  และอายุของตนเองได้  พยายามหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเอง  สนทนาโต้ตอบ / เล่าเรื่องราวได้  สร้างผลงานตามความคิดของตนเอง  โดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้นและแปลกใหม่  รู้จักใช้คำถาม "ทำไม"  "อย่างไร"  เริ่มเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม  นับปากเปล่าได้ถึง 20

ทฤษฎีการเรียนรู้


การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Bloom ( Bloom's Taxonomy)

nความรู้ที่เกิดจากความจำ (knowledge) ซึ่งเป็นระดับล่างสุด 
nความเข้าใจ (Comprehend)
nการประยุกต์ (Application)
nการวิเคราะห์ ( Analysis) สามารถแก้ปัญหา ตรวจสอบได้ 
nการสังเคราะห์ ( Synthesis) สามารถนำส่วนต่างๆ มาประกอบเป็นรูปแบบใหม่ได้ให้แตกต่างจากรูปเดิม เน้นโครงสร้างใหม่ 
nการประเมินค่า ( Evaluation) วัดได้ และตัดสินได้ว่าอะไรถูกหรือผิด ประกอบการตัดสินใจบนพื้นฐานของเหตุผลและเกณฑ์ที่แน่ชัด หรืประกอบการตัดสินใจบนพื้นฐานของเหตุผลและเกณฑ์ที่น่ชัด 
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของบรูเนอร์ (Bruner)
 nความรู้ถูกสร้างหรือหล่อหลอมโดยประสบการณ์ nผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบในการเรียน nผู้เรียนเป็นผู้สร้างความหมายขึ้นมาจากแง่มุมต่างๆ nผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง nผู้เรียนเลือกเนื้อหาและกิจกรรมเอง nเนื้อหาควรถูกสร้างในภาพรวม


                           หลักการ/แนวคิดสู่การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก   

 นักจิตวิทยา/นักการศึกษา/หลักการ แนวคิด

กีเซล (Gesell) เชื่อว่า     

พัฒนาการของเด็กเป็นไปอย่างมีแบบแผนและเป็นขั้นตอน เด็กควรพัฒนาไปตามธรรมชาติไม่ควรเร่งหรือบังคับ
การเรียนรู้ของเด็กเกิดขึ้นจากการ  การเคลื่อนไหว การใช้ภาษา การปรับตัวเข้าสังคมกับบุคคลรอบข้าง
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
จัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ให้เด็กได้เล่นกลางแจ้ง จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ ฝึกการใช้มือและประสาทสัมพันธ์มือกับตา
จัดกิจกรรมให้เด็กได้ฟัง ได้พูดท่องคำคล้องจอง ร้องเพลง ฟังนิทาน
จัดให้เด็กทำกิจกรรมเดี่ยวและกิจกรรมกลุ่ม


นักจิตวิทยา/นักการศึกษา/หลักการ แนวคิด
ฟรอยด์ (Freud) เชื่อว่า
ประสบการณ์ในวัยเด็กส่งผลต่อบุคลิกภาพของคนเราเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ หากเด็ก ไม่ได้รับการตอบสนองอย่างเพียงพอ จะเกิดอาการชะงัก พฤติกรรมถดถอย คับข้องใจส่งผลต่อพัฒนาการของเด็ก
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
ครูเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งการแสดงออก ท่าทีวาจา
จัดกิจกรรมเป็นขั้นตอน จากจ่ายไปหายาก จัดสิ่งแวดล้อมที่บ้านและโรงเรียนเพื่อส่งเสริมพัฒนาบุคลิกภาพของเด็ก


นักจิตวิทยา/นักการศึกษา/หลักการ แนวคิด
อีริคสัน (Erikson) เชื่อว่า
ถ้าเด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เด็กพอใจ ประสบผลสำเร็จ เด็กจะมองโลกในแง่ดี มีความเชื่อมั่นและไว้วางใจผู้อื่น
ถ้าเด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี ไม่พอใจจะมองโลกในแง่ร้าย ขาดความเชื่อมั่นในตนเองและไม่ไว้วางใจผู้อื่น
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
จัดกิจกรรมให้เด็กได้ประสบผลสำเร็จ พึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมของห้องเรียน เพื่อนครู
  จัดบรรยากาศในห้องเรียน ให้เด็กมีโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อสภาพแวดล้อม ครูและเพื่อน ๆ


นักจิตวิทยา/นักการศึกษา/หลักการ แนวคิด
เพียเจท์ (Piaget)
  พัฒนาการทางด้านเชาว์ปัญญาของเด็กเกิดจากการที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมรอบ ๆ ตัวเด็ก มีการรับรู้จากสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา และมีการปรับขยายประสบการณ์เดิม ความคิดและความเข้าใจให้ขยายมากขึ้น
  พัฒนาการของเด็กปฐมวัย (0 – 6 ปี)  

    1. ขั้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหววัย 0 – 2 ปี เด็กเรียนรู้ทุกอย่างทางประสาทสัมผัสทุกด้าน
    2. ขั้นความคิดก่อนปฏิบัติการวัย 2 – 6 ปี เริ่มเรียนภาษาพูดและภาษาท่าทางในการสื่อสารยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง คิดหาเหตุผลไม่ได้จัดหมวดหมู่ได้ตามเกณฑ์ของตนเอง
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
จัดกิจกรรมให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัส ทั้ง 5  จัดให้เด็กฝึกฝนทักษะ การสังเกต การจำแนกเปรียบเทียบ
  จัดกิจกรรมให้เด็กมีโอกาสคิดหาเหตุผล เลือก และตัดสินใจสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง
  จัดให้เด็กได้เรียนรู้จากสิ่งใกล้ตัวไปสู่เรื่องไกลตัว และมีลักษณะที่เป็นรูปธรรม
นักการศึกษา/หลักการ แนวคิด

ดิวอี้ (Dewey) เชื่อว่า
  เด็กเรียนรู้โดยการกระทำ
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
จัดกิจกรรมให้เด็กได้ประสบผลสำเร็จพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมของห้องเรียน เพื่อน ครู
  จัดบรรยากาศในห้องเรียน ให้เด็กมีโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อสภาพแวดล้อม ครู และเพื่อน ๆ


นักจิตวิทยา/นักการศึกษา/หลักการ แนวคิด
สกินเนอร์  (Skinner)
ถ้าเด็กได้รับการชมเชย และประสบผลสำเร็จในการทำกิจกรรม เด็กสนใจที่ทำต่อไป
  เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ไม่มีใค เหมือนใคร
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
  ให้แรงเสริม เช่น ชมเชย ชื่นชม เมื่อเด็กทำกิจกรรมประสบผลสำเร็จ
  ไม่นำเด็กมาเปรียบเทียบแข่งขันกัน


นักจิตวิทยา/นักการศึกษา/หลักการ แนวคิด
เปสตาลอสซี่ (Pestalozzi)
  ความรักเป็นพื้นฐานสำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาเด็ก ทั้งด้านร่างกายและสติปัญญา
  เด็กแต่ละคนแตกต่างกัน ทั้งด้านความสนใจความต้องการ และระดับความสามารถในการเรียน
  เด็กไม่ควรถูกบังคับให้เรียนรู้ด้วยการท่องจำ
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อม ให้ความรักให้เวลา และให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์


นักจิตวิทยา/นักการศึกษา/หลักการ แนวคิด
เฟรอเบล (Froeble)
  ควรส่งเสริมพัฒนาการตามธรรมชาติของเด็กด้วยการกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์อย่างเสรี
  การเล่นเป็นการทำงานและการเรียนรู้ของเด็ก

การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
จัดกิจกรรมเรียนรู้ผ่านการเล่นอย่างเสรี


นักจิตวิทยา/นักการศึกษา/หลักการ แนวคิด
เอลคายน์ (Elkind)
  การเร่งเด็กให้เรียนรู้แต่เล็กเป็นอันตรายต่อเด็ก
  เด็กควรมีโอกาสเล่นและเลือกกิจกรรมการเล่นด้วยตนเอง
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
จัดบรรยากาศในห้องเรียนให้เด็กมีโอกาสเล่นและเลือกกิจกรรมการเล่นด้วยตนเอง   


 ประมวลแนวคิดของนักการศึกษามาสู่หลักการในการจัดการศึกษาปฐมวัยแล้วนำไปปฏิบัติจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับชีวิตจริงของเด็ก

 nความรู้ถูกสร้างหรือหล่อหลอมโดยประสบการณ์ 
 nผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบในการเรียน 
 nผู้เรียนเป็นผู้สร้างความหมายขึ้นมาจากแง่มุมต่างๆ 
 nผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง 
 nผู้เรียนเลือกเนื้อหาและกิจกรรมเอง 
 nเนื้อหาควรถูกสร้างในภาพรวม

*การเรียนรู้อย่างมีความสุข 

         ารเรียนรู้จากการคิดและปฏิบัติจริงการเรียนรู้จากการคิดและปฏิบัติจริงเรียนรู้โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้าพัฒนาทักษะ การสังเกต การเปรียบเทียบ การจำแนกการสรุปความคิดรวบยอด การแก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์ ฯลฯกิจกรรมโครงการ กิจกรรมประจำวัน การเล่น กิจกรรมการทดลองกิจกรรมการศึกษานอกสถานที่ กิจวัตรประจำวัน ฯลฯ

*การเรียนรู้แบบองค์รวมที่ครอบคลุมพัฒนาการทุกด้าน
       เรื่องใกล้ตัว  เรื่องในท้องถิ่น  ไม่แยกส่วนหรือแยกเป็นรายวิชา
       กิจกรรมที่จัดสอดคล้องกับประสบการณ์ที่ได้รับ
      ครอบคลุมพัฒนาการทุกด้านทั้งทางร่างกาย  จิตใจ-อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
      ประสบการณ์ต่าง ๆสัมพันธ์กันในลักษณะบูรณาการ
     ครูผู้สอนหรือผู้ดูแลเด็กควรหลอมรวมหรือเชื่อมโยงความรู้ประสบการณ์แวดล้อมที่อาศัยอยู่


สรุป หลักการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย

          พัฒนาเด็กให้ครบทุกพัฒนาการ เน้นให้เด็กช่วยเหลือตนเองและอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข กิจกรรมที่จัดต้องมีความสมดุลยึดเด็กเป็นสำคัญ และต้องประสานสัมพันธ์กับครอบครัวและชุมชน