30 ส.ค. 2557

ครั้งที่ 2

เด็กปฐมวัย       สมองทำงานอย่างไร     

         เมื่อนำการทำงานของสมองมาจัดลำดับสัมพันธ์กับอายุจึงเรียกว่าพัฒนาการ

         พัฒนาการ 

           การเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง เช่นการ คืบ คลาน นั่ง ยืน เดิน วิ่ง จะถ่ายทอดออกเป็นพฤติกรรมแสดงถึงความสามารถของเด็กที่ทำสิ่งใดได้ในแต่ละระดับอายุ โดยรวมจะมีกรอบการเปลี่ยนเปลี่ยนแปลงที่มีลักษณะเดียวกัน

   พัฒนาการทางสติปัญญามีลำดับอย่างไร

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์(ทิศนา แขมมณี, 2555) ซึ่งสามารถสรุปสาระสาคัญของเด็กในแต่ละช่วงวัยได้ดังนี้

1.   เด็กแรกเกิดถึง 2 ปี อยู่ในขั้นการพัฒนาประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว(Sensori-Motor Stage)เด็กจะพัฒนาการเคลื่อนไหวเป็นสาคัญ เช่น การไขว่คว้า การเคลื่อนไหว การมอง การดู เด็กสามารถแก้ปัญหาได้แบบลองผิดลองถูก แต่ไม่สามารถอธิบายออกมาเป็นคาพูด เด็กต้องมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมด้วยตนเอง ซึ่งสาคัญต่อพัฒนาการด้านสติปัญญาและความคิด เด็กจะฝึกการประสานงานระหว่างกล้ามเนื้อมือกับสายตา และเรียนรู้จากการทาซ้าและเลียนแบบ

2.   เด็กอายุ 2-7 ปีอยู่ในขั้นก่อนปฏิบัติการคิด(Preoperational Stage) แบ่งเป็นสองขั้นย่อยคือ

ขั้นก่อนเกิดสังกัป(Preconceptual Stage)เป็นพัฒนาการของเด็กอายุ2-4 ปี
เป็นขั้นที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผลเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจากัดอยู่ เพราะเด็กยังคงยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง คือถือความคิดตนเองเป็นใหญ่ และมองไม่เห็นเหตุผลของผู้อื่น ความคิดและเหตุผลของเด็กวัยนี้ จึงไม่ค่อยถูกต้องตามความเป็นจริงนัก นอกจากนี้ความเข้าใจต่อสิ่งต่างๆ ยังคงอยู่ในระดับเบื้องต้น เช่น เข้าใจว่าเด็กหญิง 2 คน ชื่อเหมือนกัน จะมีทุกอย่างเหมือนกันหมด แสดงว่าความคิดรวบยอดของเด็กวัยนี้ยังไม่พัฒนาเต็มที่ แต่พัฒนาการทางภาษาของเด็กเจริญรวดเร็วมาก

ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล)Intuitive Thought)
เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของวัตถุ เข้าใจความหมายของจานวนเลข เริ่มมีพัฒนาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ แต่ไม่แจ่มชัดนัก สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้โดยไม่คิดเตรียมล่วงหน้าไว้ก่อน รู้จักนาความรู้ในสิ่งหนึ่งไปอธิบายหรือแก้ปัญหาอื่นและสามารถนาเหตุผลทั่วๆ ไปมาสรุปแก้ปัญหา โดยไม่วิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนเสียก่อนการคิดหาเหตุผลของเด็กยังขึ้นอยู่กับสิ่งที่ตนรับรู้ หรือสัมผัสจากภายนอก 

3.ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม(Concrete Operation Stage) ขั้นนี้จะเริ่ม
จากอายุ 7-11 ปีพัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้ เด็กวัยนี้สามารถที่จะเข้าใจเหตุผล รู้จักการแก้ปัญหาสิ่งต่างๆ ที่เป็นรูปธรรมได้ สามารถที่จะเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องความคงตัวของสิ่งต่างๆ โดยที่เด็กเข้าใจว่าของแข็งหรือของเหลวจานวนหนึ่งแม้ว่าจะเปลี่ยนรูปร่างไปก็ยังมีน้าหนัก หรือปริมาตรเท่าเดิม สามารถที่จะเข้าใจความสัมพันธ์ของส่วนย่อย ส่วนรวม ลักษณะเด่นของเด็กวัยนี้คือ ความสามารถในการคิดย้อนกลับ นอกจากนั้นความสามารถในการจาของเด็กในช่วงนี้มีประสิทธิภาพขึ้น สามารถจัดกลุ่มหรือจัดการได้อย่างสมบูรณ์ สามารถสนทนากับบุคคลอื่นและเข้าใจความคิดของผู้อื่นได้ดี 
            
        แต่....
          พัฒนาการแต่ละคนมีคุณภาพแตกต่างกัน ตามปัจจัยที่แวดล้อมเช่น อาหาร การอบรมเลี้ยงดู เป็นต้น
        ดังนั้น....
          ครูจะต้องยอมรับในความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก


การทำงานของสมอง --พัฒนาการทางสติปัญญา--แสดงออกเป็นพฤติกรรม 

            อายุแรกเกิด- 2ปี ขั้นประสาทสัมผัส เด็กก็จะแสดงพฤติกรรม ตาจ้องมอง 
หูฟังเสียง มือไขว่ขว้าหยิบของเข้าปาก จมูกดมกลิ่น กายสัมผัส ดังนั้นประสาทสัมผัสทั้งห้าของเด็กจึงเป็นเครื่องมือในการเก็บหรือซึมซับข้อมูลและนำไปสู่การเรียนรู้ดังการทำงานของสมอง 

จึงสรุปได้ว่า 

          ครูจึงต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้ลงมือกระทำกับวัตถุด้วยประสาทสัมผัสทั้ง  5  จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้และเมื่อใด ครูเปิดโอกาสให้เด็กเลือกและตัดสินใจกระทำด้วยตนเองอย่างไม่เป็นทางการจะทำให้การเรียนรู้นั้นอยู่บนพื้นฐานของความสุขที่เราเรียกว่าการเล่นนั้นเอง

เด็กปฐมวัย VS การเรียนรู้วิทยาศาสตร์?

วิทยาศาสตร์เป็นยาขมสำหรับเด็ก ๆ จริงหรือ ?
ถ้าเด็ก ๆ เรียนวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจะยากเกินไปไหม ?
ควรจะให้เด็ก ๆ อนุบาลเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร ? .

วิทยาศาสตร์

คือความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของตนเอง
ความพยายามเช่นนี้ติดตัวของมนุษย์มาตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็นช่างสังเกตและคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่พวกเขาเจอ และบางครั้งก็เป็นคำถามที่ยากเกินกว่าที่ผู้ใหญ่จะให้คำตอบ การทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของตนเอง โดยการสังเกตและคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่พวกเขาเจอช่วยเชื่อมโยงเซลล์ของสมองของเด็กโดยเฉพาะเด็กเล็กๆ เพราะส่งเสริมให้เด็กได้คิด เป็นการเตรียมเด็กให้สามารถเรียนรู้ได้มากขึ้นในวัยที่สูงขึ้น

ถ้าผู้ใหญ่ไม่เข้าใจในธรรมชาติของเด็ก

          ปิดกั้นโอกาสทางการเรียนรู้ของพวกเขาโดยการไม่ให้ความสนใจกับคำถาม
ไม่ให้ความสนใจกับการค้นพบแบบเด็กๆ
จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่จะส่งเสริมและต่อยอดทักษะและแนวคิดที่ถูกต้องให้กับเด็กไม่สอดคล้องกับพัฒนาการและวิธีการเรียนรู้


ทบทวนบทบาท

เปิดโอกาสทางการเรียนรู้ของพวกเขาโดยการให้ความสนใจกับคำถาม
ให้ความสนใจกับการค้นพบแบบเด็กๆ
จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่จะส่งเสริมและต่อยอดทักษะและแนวคิดที่ถูกต้องให้กับเด็กอย่างเหมาะสม 
ครูและผู้ปกครองต้องยอมรับในเรื่องจินตนาการที่มีอยู่สูงในเด็กวัยนี้
ครูต้องแม่นยำในพัฒนาการของเด็ก เพื่อที่จะสามารถจัดการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก

งานที่มอบหมาย.Link บทความและสรุปในBlog จัดลำดับผู้ที่จะนำเสนอ สัปดาห์ละ 5 คน


23 ส.ค. 2557

ครั้งที่ 1

     

                    สวัสดีนักศึกษาปฐมวัยชั้นปีที่ 3 ทุกท่าน

            สัปดาห์แรกของการเรียนในรายวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  นักศึกษาส่วนใหญ่เข้าชั้นเรียนในแต่ละกลุ่มเกือบครบทุกกลุ่ม อาจารย์ได้แจก 
Course Syllabus  เพื่อทราบรายละเอียดของการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาดังกล่าวและนักศึกษาจะได้นำรายละเอียดดังกล่าวไปวางแผนการเรียนรู้ของตนเองเพื่อให้การเรียนรู้ในรายวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เกิดประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลตามที่นักศึกษาคาดหวัง 
            มีประเด็นที่สำคัญ
           1. การพัฒนาการเรียนการสอนที่สอดแทรกการเรียนรู้ภาษาอังกฤษผ่านการใช้ Electronic Portfolio เพื่อเก็บสะสมงานในรายวิชาฯลฯโดยองค์ประกอบของ Electronic Portfolio จะเขียนเป็นภาษาอังกฤษ  นักศึกษาอาจรู้สึกยุ่งยากแต่ความยุ่งยากนั้นก็จะเป็นประสบการณ์ผ่านการกระทำที่เราเชื่อว่าจะนำไปสู่ทักษะและการเรียนรู้ 
           2. การบันทึกอนุทินประกอบด้วย 3 ส่วน
              2.1 องค์ความรู้ที่ได้รับจะต้องแสดงมากกว่าการเขียนเพียงหัวข้อ
              2.2 การประยุกต์ใช้จะต้องบอกให้ได้ว่าจะใช้เมื่อไหร่และอย่างไร
              2.3 การสอนในแต่ละครั้งผู้สอนได้ใช้เทคนิคการสอนใดบ้าง
           3. การใช้เทคโนโลยีในการนำเสนอข้อมูล
           4. การอ้างอิงข้อมูลที่นำเสนอเพื่อแสดงถึงความซื่อสัตย์
           5. ความรับผิดชอบและตรงเวลาต่องานที่ได้รับมอบหมาย
                         
        งานที่มอบหมายในครั้งต่อไปคือการทำ Electronic Portfolio และปรึกษาแนวทางการเชื่อมโยง Link อย่างเป็นระบบ